เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง



      เศรษฐกิจพอเพียง   เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   ทรงมีพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงหรือพอมีพอกินในปี พ.ศ.  2537  โดยทรงพระราชทานแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักในความสำคัญสำหรับนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหา   ที่เน้นการพึ่งพาตนเอง   โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง    ที่สามารถครอบคลุมภาคเกษตรกรรม   อุตสาหกรรม  และพาณิชยกรรม  ตลอดจนการดำเนินชีวิตของพสกนิกรทุกกลุ่มอาชีพซึ่งพระองค์ได้ทรงทดลองจนเป็นที่ประจักษ์ว่า  หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่มีความเหมาะสมกับการดำเนินชีวิตของคนในสังคมปัจจุบันและอนาคต

1.1 ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง
      เศรษฐกิจพอเพียง  เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี  ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ  และเมื่อภายหลังได้ทรงย้ำเน้นแนวทางแก้ไขเพื่อให้ยู่รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
      จากเอกสารในการประชุม "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับเศรษฐกิจพอเพียง" สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (เมษายน 2543) ซึ่งได้ประมวลกลั่นกรองจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง"เศรษฐกิจพอเพียง" ซึ่งพระราชทานในโอกาสต่าง ๆ รวมทั้งพระราชดำรัสต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง  ได้กล่าวถึงเศรษฐกิจพอเพียง ไว้ดังนี้

ความหมายเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
      หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชกระแสรับสั่งแนะแนวทางการดำเนินชีวิต โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง นับเนื่องมาจนถึงวันนี้ก็เป็นเวลา 1 ขวบปีพอดี วิกฤตการณ์เศรษฐกิจของประเทศก็ยังคงอยู่ สมควรที่พวกเราได้ทบทวนพระราชกระแสกันอีกสักครั้ง เพื่อให้พวกเราได้ “ใจดี สู้เสือ” กันต่อไป เพื่อนำให้ตัวเราและชาติบ้านเมืองได้ผ่านมรสุมร้ายที่กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ด้วยสติที่มั่นคง ปัญญาที่เฉียบแหลม และด้วยความรู้ ความเข้าใจ อย่างลึกซึ้ง เพื่อปรับวิถีชีวิตของพวกเราชาวไทยให้ยึดมั่นแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างและยึดมั่นวิถีชีวิตไทย อันนำมาสู่พวกเราชาวไทยทุกหมู่เหล่าต่อไป ชั่วกาลนาน




ความหมายเศรษฐกิจพอเพียง
          เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ความสามารถของชุมชนเมือง รัฐ ประเทศ หรือภูมิภาคหนึ่ง ๆในการผลิตสินค้าและบริการทุกชนิดเพื่อเลี้ยงสังคมนั้น ๆ ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยต่างๆ ที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ- เศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคลนั้น คือ ความสามารถในการดำรงชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อน มีความเป็นอยู่อย่างประมาณตน ตามฐานะ ตามอัตภาพ และที่สำคัญไม่หลงใหลไปตามกระแสของวัตถุนิยม มีอิสรภาพ เสรีภาพ ไม่พันธนาการอยู่กับสิ่งใด
        หากกล่าวโดยสรุป คือ หันกลับมายึดเส้นทางสายกลางในการดำรงชีวิตหลักการพึ่งตนเอง

            ด้านจิตใจ ทำตนให้เป็นที่พึ่งตนเอง มีจิตสำนึกที่ดี สร้างสรรค์ให้ตนเองและชาติโดยรวม มีจิตใจ เอื้ออาทร ประนีประนอม เห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
            ด้านสังคม แต่ละชุมชนต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เชื่อมโยงกัน เป็นเครือข่ายชุมชนที่แข็งแรง
เป็นอิสระ

ความเป็นมาของเศรษฐกิจพอเพียง

      เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราโชวาทแก่นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทรงเน้นความสำคัญของการพัฒนาประเทศ  ซึ่งจะต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้” ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยวิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และในวันที่ ธันวาคม พ.ศ.2517 ทรงมีพระราชดำรัสเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย ทรงเน้น พอมีพอกินอีกครั้ง
      เหตุผลสำคัญที่ทรงมีพระบรมราโชวาทเช่นนั้นเนื่องจากประเทศไทยได้ใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ผ่านมา เน้นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อพัฒนาประเทศให้ก้าวไปสู่อุตสาหกรรมเป็นหลัก  โดยเงินลงทุนส่วนใหญ่เป็นเงินกู้จากต่างประเทศ  ซึ่งจำเป็นต้องชำระหนี้ด้วยการส่งสินค้าออกทางการเกษตร  เป็นผลให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูก  พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายลงผลที่ตามมาคือเศรษฐกิจของประเทศขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว  ในขณะเดียวกันก็เกิดปัญหาช่องว่างระหว่างการกระจายรายได้เพิ่มขึ้น  โดยที่ภาคอุตสาหกรรมมีอัตราการขยายตัวสูงกว่าภาคเกษตรขณะที่การจ้างงานไม่ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับการขยายตัวของผลผลิต ทำให้ประชากรส่วนใหญ่ที่ยังคงมีอาชีพการเกษตรได้รับผลกระทบ
    ในการบรรลุเป้าหมายสุดท้ายในการสร้าง ความพออยู่พอกิน” ให้กับประชาชนชาวไทยทุกคนโดยเฉพาะเกษตรกรผู้ยากไร้ในชนบท จากพระราชดำรัสในปีต่อ ๆ มา โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ได้ทรงดำเนินพระราชกรณียกิจ ดังนี้
    1. ปรับแก้สภาพทางกายภาพของพื้นดินให้มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก
    2. เน้นความสามารถในการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีโดยเน้นความประหยัดแต่ถูกหลักวิชาการ
    3. ส่งเสริมการผลิตที่หลากหลาย  เพื่อลดความเสี่ยง  และช่วยให้เกิดกระแสรายได้ที่เหมาะสม
    4. ส่งเสริมสถาบันหรือองค์กรของเกษตรกรเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา
    5. ส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตร
      หลังจากนั้นได้ทรงค้นคว้าทดลองอย่างต่อเนื่อง ในวันที่ ธันวาคม  พ.ศ.  2537 ได้ทรงเผยแพร่ ทฤษฎีใหม่”  ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของเศรษฐกิจพอเพียงในปี พ.ศ. 2539 ทรงเตือนผู้ที่เกี่ยวข้องในขณะนั้น ให้ มีความรอบคอบ” และอย่า ตาโต”   จนกระทั่งเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปีพ.ศ. 2540 จึงเป็นที่มาของพระราชดำรัสที่ว่า
     “การเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ  สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้นหมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง”  พร้อมกันนั้นทรงอธิบายต่อว่า คำว่า พอเพียง  มีความหมายกว้างขวางกว่าความสามารถในการพึ่งตนเองหรือความสามารถในการยืนบนขาของตนเอง  เพราะความพอเพียง   หมายถึง  การที่มีความพอ  คือมีความโลภน้อย เมื่อโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย   ถ้าประเทศใดมีความคิดนี้   มีความคิดว่า ทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า  พอประมาณ  ซื่อตรง  ไม่โลภอย่างมาก  คนเราอาจจะสุข  พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้  แต่ต้องไม่เบียดเบียนคนอื่น

    ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ ในทุกอาชีพ ไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะภาคเกษตรกรรมเท่านั้น แต่เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ของประเทศประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร  และตัวอย่างในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่มุ่งเน้นการพึ่งพาตนเอง การรู้จักพอประมาณ การมีเหตุผลในการตัดสินใจ รู้ว่าทำไมถึงทำ ทำอย่าง ทำแล้วจะได้อะไร การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี คือความสามารถในการป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤต และที่สำคัญคุณธรรมนำความรู้ คือความซื่อสัตย์ รับผิดชอบ เสียสละ และการยอมรับเทคโนโลยีรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างสมดุล เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชีวิตที่ขับเคลื่อน ตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ให้ก้าวไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน





      เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน ถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ  ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ  อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฏี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจรติและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียรมีสติปัญญาและความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

      ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ จึงประกอบหลักการหกวิชา และหลักธรรมหลายประการ อาทิ
      1.  เป็นปรัชญาแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ
      2.  เป็นปรัชญาในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง
      3.  จะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจให้ก้าวทันโลกยุคโลกาภิวัตน์ เพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
      4.  ความพอเพียง หมายถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน
     5.  จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอยและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน
     6. จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสมดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญาและความรอบคอบ

สรุปปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
นิยามของความพอเพียง  ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย คุณลักษณะ พร้อม  กันดังนี้
     ความพอประมาณ หมายถึง  ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น  เช่น  การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
    ความมีเหตุผล หมายถึง  การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น  จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล  โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง  ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
      การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หมายถึง  การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
เงื่อนไข  การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับความพอเพียงนั้น  ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวถือ
       เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย  ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน  ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน  เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
           เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง  ประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม  เช่น  มีความซื่อสัตย์สุจริต  ความอดทน ความเพียร  ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิตไม่โลภ  และไม่ตระหนี่

แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ
      จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน  พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน  ทั้งด้านเศรษฐกิจ  สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี
แนวคิดพัฒนาภูมิปัญญาไทย
      จากพระราชดำรัส เศรษฐกิจพอเพียงที่ทรงมีพระบรมราโชวาทครั้งแรกในปี พ.ศ.  2517 นั้นพระองค์มีพระราชประสงค์จะให้เป็นแนวคิดนำในการพัฒนาประเทศ  เพราะถ้าย้อนกลับไปศึกษาพระบรมราโชวาทดังกล่าว  จะเห็นได้ว่า  เริ่มต้นจากความสำคัญในการพัฒนาประเทศ  จะต้องเน้นการสร้างพื้นฐาน  คือ การพอมี พอกิน พอใช้”  ถึงแม้ว่าที่กล่าวถึงส่วนใหญ่จะเป็นการแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกร และการจัดการด้านเกษตรกรรม ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนไทย  แต่ในความเป็นจริงพระองค์มีพระราชประสงค์ให้เศรษฐกิจพอเพียง  สามารถครอบคลุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกประเภทจากการที่ทรงเน้นเศรษฐกิจพอเพียงในฐานะยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาประเทศดังกล่าวมาเป็นเวลา 27 ปี  (พ.ศ.  2517 - 2537 ) แต่กระนั้นคนส่วนใหญ่ซึ่งรวมทั้งนักวิชาการ ข้าราชการระดับสูงเป็นจำนวนมาก  ก็ยังไม่เข้าใจในความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง ใน ปี พ.ศ.  2541 จึงทรงเน้นประเด็นนี้อีกครั้ง   “…เมื่อปี 2517  วันนั้นได้พูดว่า  เราควรปฏิบัติให้  พอมี  พอกิน  พอมี  พอกิน  ก็แปลว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเอง ..
หลังวิกฤตการทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ.  2540  ที่นักวิชาการ กล่าวว่า  เป็นวิกฤตการณ์ฟองสบู่แตกผู้คนตกงานเดินทางกลับบ้าน และต้องหันไปพึ่งพิงทรัพยากรพื้นฐานในท้องถิ่น และประชาชนส่วนใหญ่อยู่ในภาวะขวัญเสีย  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานพระบรมราโชวาท  เน้นย้ำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นแนวทางสำหรับประชาชน  จะต้องพยายามยืนหยัดด้วยตนเองบนพื้นฐานของทรัพยากรที่มีอยู่จริง ลดการพึ่งพิงจากภายนอก  ขณะเดียวกันก็พยายามพัฒนาศักยภาพและความยั่งยืนในระบบที่ตนมีอยู่  การที่กระบวนการเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้  แต่ละหน่วยการผลิตในระบบจะต้องพยายามเข้าใจเห็นคุณค่า  และข้อจำกัดของฐานทรัพยากรในท้องถิ่นของตน จึงจะสามารถดึงคุณค่าที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งตระหนักในความจำเป็นที่จะต้องควบคุมการใช้ประโยชน์ทรัพยากรนั้นในขอบเขตไม่เกินขีดจำกัด  จนอาจกลายเป็นการทำลายฐานทรัพยากรของตนไปด้วย  นั่นคือการที่ประชาชนจะต้องเข้าใจการจัดการทรัพยากรท้องถิ่นในระบบเศรษฐกิจพอเพียง ภายหลังผ่านพ้นวิกฤตเศรษฐกิจ รัฐบาลได้ดำแนวคิดพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาประเทศ  จะเห็นได้จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่ 9  (พ.ศ.  2545-2549 ) การสร้างงาน โครงการกองทุนหมู่บ้าน  สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์   การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้  ซึ่งหลายหมู่บ้านประสบความสำเร็จเป็นแบบอย่างที่ดีในการบริหารและการจัดการทรัพยากรในท้องถิ่นของตนเองสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในโอกาสต่อไป 

การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 
 

1. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพอย่างจริงจัง ดังพระราชดำรัสว่า 
. . . ความเป็นอยู่ที่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อ ต้องประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง. . . 

2. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดำรงชีพก็ตาม ดังพระราชดำรัสที่ว่า . . ความเจริญของคนทั้งหลายย่อมเกิดมาจาก การประพฤติชอบและการหาเลี้ยงชีพ ของตนเป็นหลักสำคัญ. . 

3. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าขายประกอบอาชีพแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรงดังอดีต ซึ่งมีพระราชดำรัสเรื่องนี้ว่า 
. . . ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึงความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรมทั้งในเจตนา และการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น. . . 

4. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางในชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยากครั้งนี้ โดยต้องขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้เกิดมีรายได้เพิ่มพูนขึ้นจนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ พระราชดำรัสตอนหนึ่งที่ให้ความชัดเจนว่า 
. . การที่ต้องการให้ทุกคนพยายามที่ จะหาความรู้ และสร้างตนเองให้มั่นคงนี้เพื่อตนเอง เพื่อที่จะให้ตัวเองมีความเป็นอยู่ที่ก้าวหน้า ที่มีความสุข พอมีพอกินเป็นขั้นหนึ่ง และขั้นต่อไป ก็คือให้มีเกียรติว่ายืนได้ด้วยตัวเอง. . . 

5. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดีลดละสิ่งยั่วกิเลสให้หมดสิ้นไป ทั้งนี้ด้วยสังคมไทยที่ล่มสลายลงในครั้งนี้ เพราะยังมีบุคคลจำนวนมิใช่น้อยที่ดำเนินการโดยปราศจากละอายต่อแผ่นดิน พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราโชวาทว่า . . . พยายามไม่ก่อความชั่วให้เป็นเครื่องทำลายตัว ทำลายผู้อื่น พยายามลด พยายามละความชั่วที่ตัวเองมีอยู่ พยายามก่อความดีให้แก่ตัวอยู่เสมอ พยายามรักษา และเพิ่มพูนความดีที่มีอยู่นั้น ให้งอกงามสมบูรณ์ขึ้น. . . 

ทรงย้ำเน้นว่าคำสำคัญที่สุดคือ คำว่า "พอ" 
ต้องสร้างความพอที่สมเหตุสมผลให้กับตัวเองให้ได้และเราก็จะพบกับความสุข
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น